น่ารัก

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

20 ธันวาคม 2554





ครั้งที่3
20 ธันวาคม 2554


นักการศึกษา


สกินเนอร์ (Skinner)
การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก
หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม
การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคล
แสดงพฤติกรรมได้ การเสริมแรงทางลบเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใน 2 ลักษณะคือ
พฤติกรรมหลีกหนี (Escape Behavior)
พฤติกรรมหลีกเลี่ยง (Avoidance Beh.)


อีริคสัน (Erikson)

เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ

วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อ

ยๆทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ


ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการใ

นวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจ

ตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt)
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็ก

จะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่

ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้

อย (Industry vs Inferiority)
อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง

ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม (Ego Identity vs Role Confusion)อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวล

ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood)
เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอมเห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลย และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมีบ้านของตนเอง

ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation)
อีริควันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นค

รูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป

ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง
(Ego Integrity vs Despair)

วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตา

ย ยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย



กีเซล (Gesell)



สามารถใช้อธิบายพัฒนาการด้านร่างกายที่เกิดขึ้น โดยเน้นว่าการเจริญเติบโตของมนุษย์ เป็นกระบวนการพัฒนาต่อเนื่อง เป็นแบบแผนตามล าดับขั้นความ ก้าวหน้าของพัฒนาการจ าเป็นต้องมีการปรับประสบการณ์ใหม่เข้ามารวมกับประสบการณ์เก่าและเกิดความสามารถใหม่ขึ้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นการแสดงออกของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของวุฒิภาวะ (maturation) ของระบบประสาทของมนุษย์ กีเซล ให้ค าอธิบายทฤษฎีว่า พฤติกรรมเป็นผลมาจากยีนส์ ความพร้อมของกล้ามเนื้อและระบบประสาท และจะปรากฏเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมและในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ซึ่งเป็นวงจรของพฤติกรรม (Cycle of behavior) กีเซล ใช้พฤติกรรมเป็นเครื่องวัดพัฒนาการเด็ก โดยแบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คื

อ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross motor development) พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก หรือการปรับตัว(fine motor development) พัฒนาการด้านภาษา (language development) พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่เด็กควรเรียนรู้ได้แก่

1. การนับ

2. การรู้จักตัวเลข

3. การชั่ง การวัด

4. รูปร่าง รูปทรง

5. พื้นที่

6. การเพิ่มและลดจำนวน

7. รู้จักความสัมพันธ์จำนวนกับตัวเลข

8. การเปรียบเทียบ

9. การจัดหมวดหมู่

10. การจะแนกประเภท

11. การเรียงลำดับ

การนับ คือ คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลข อันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับ อย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10 หรือมากกวานั้น

การรู้จักตัวเลข คือ การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือ ใช้อยู่ในชีวิตประจำ

การจับคู่ คือ การฝึกฝนให่้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ

การจัดประเภท คือ การสังเกตความเหมือน ความต่าง และว นำมาจัดประเภทได้

การจัดลำดับ คือการจัดสิ่งของ แบบเป็นขั้นตอน โดยก่อนหน้าปและหลัง

รูปทรง คือ รูปทรงเรขาคณิต ต่างๆ เช่น สาม้หลี่ยม สี่่หลี่ยม วงกลม วงรี

การวัด คือ เด็กได้รู้จักความยาว ความสั้น

เซท คือ สิ่งรอบๆตัว และ ที่มีความเชื่อมโยงกับ สภาพรวม

การทำตามแบบหรือลวดลาย คือ การพัฒนาให้เด็กจดจำ



1 ความคิดเห็น:

  1. ขอภัยด้วย คะ ที่ไม่ใช้สีสัน เท่าไร เนื่องจาก บล็อค มีปัญหา ใส่สีตัวอักษรไม่ได้คะ ขอโทษด้วยคะ

    ตอบลบ